ข้อมูล อบต.
ประวัติความเป็นมาของตำบล ก่อนที่จะมาเป็นเขตปกครอง และรับผิดชอบของตำบลตะนาวศรี เดิมนั้นอยู่ในเขตการปกครองและรับผิดชอบของตำบลสวนผึ้ง ต่อมาเมื่อมีจำนวนราษฎรเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาในด้านต่างๆไม่ทั่วถึง จึงได้ขอแบ่งแยกเขตการปกครองจากตำบลสวนผึ้งเป็นตำบลตะนาวศรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2531 ตำบลตะนาวศรีเป็น 1 ใน 4 ตำบลของอำเภอสวนผึ้งก่อนที่จะมาเป็นเขตการปกครองและรับผิดชอบของตำบลตะนาวศรี เดิมนั้นอยู่ในเขตการปกครองและรับผิดชอบของตำบลสวนผึ้งซึ่งมีการแบ่งเขตการปกครองของตำบลสวนผึ้งได้ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านบ่อ หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งแฝก หมู่ที่ 3 บ้านสวนผึ้ง หมู่ที่ 4 บ้านนาขุนแสน หมู่ที่ 5 บ้านท่ามะขาม หมู่ที่ 6 บ้านห้วยคลุม หมู่ที่ 7 บ้านห้วยผาก หมู่ที่ 8 บ้านห้วยม่วง หมู่ที่ 9 บ้านบ่อหวี หมู่ที่ 10 บ้านผาปก หมู่ที่ 11 บ้านถ้ำหิน หมู่ที่ 12 บ้านห้วยแห้ง ต่อมาเมื่อจำนวนราษฎรเพิ่มมากขึ้น ทำให้การพัฒนาในด้านต่างๆ ไม่ทั่วถึง จึงได้ขอแบ่งแยกเขตการปกครองจากตำบลสวนผึ้งเป็นตำบลตะนาวศรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2531 โดยประกอบด้วยหมู่บ้านต่าง ๆ 5 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านสวนผึ้ง เดิมหมู่ที่ 3 ตำบลสวนผึ้ง หมู่ที่ 2 บ้านท่ามะขาม เดิมหมู่ที่ 5 ตำบลสวนผึ้ง หมู่ที่ 3 บ้านห้วยม่วง เดิมหมู่ที่ 8 ตำบลสวนผึ้ง หมู่ที่ 4 บ้านบ่อหวี เดิมหมู่ที่ 9 ตำบลสวนผึ้ง หมู่ที่ 5 บ้านห้วยแห้ง เดิมหมู่ที่ 12 ตำบลสวนผึ้ง เดิมได้จัดตั้งเป็นสภาตำบลตะนาวศรี เมื่อ พ.ศ.2538 และต่อมาได้ประกาศยกเลิกสภาตำบลฯ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งต่อมาบ้านห้วยม่วง หมู่ที่ 3 ตำบลตะนาวศรี ก็ได้ขอแยกหมู่บ้านเป็นบ้านห้วยน้ำหนัก หมู่ที่ 6 ตำบลตะนาวศรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2542 และบ้านท่ามะขามหมู่ที่ 2 ขอแยกหมู่บ้านเป็นหมู่ที่ 7 บ้านบ่อเก่าบน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 ดังนั้นปัจจุบันตำบลตะนาวศรี จึงประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด 7 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านสวนผึ้ง หมู่ที่ 2 บ้านท่ามะขาม หมู่ที่ 3 บ้านห้วยม่วง หมู่ที่ 4 บ้านบ่อหวี หมู่ที่ 5 บ้านห้วยแห้ง หมู่ที่ 6 บ้านห้วยน้ำหนัก หมู่ที่ 7 บ้านบ่อเก่าบน |
![]() |
ภูเขาหรือเทือกเขา
สื่อความหมายถึงเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งกั้นแนวพรมแดนระหว่างตำบลตะนาวศรี และสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ประกอบกับพื้นที่ตำบลตะนาวศรีนั้นเป็นที่ราบสลับภูเขา เป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ต่างๆ รวมทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่
ต้นไม้
สื่อความหมายถึงต้นผึ้ง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในแถบป่าพื้นที่ตำบลตะนาวศรี เป็นต้นไม้ที่มีผึ้งมาอาศัยและทำรัง ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่สามารถเก็บน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์และสร้างรายได้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ลำธาร
สื่อความหมายถึงลำภาชี ซึ่งเป็นลำน้ำที่มีจุดกำเนิดจากประเทศพม่า ไหลผ่านพื้นที่ตำบลตะนาวศรี ตำบลสวนผึ้ง ตำบลป่าหวาย อำเภอสวนผึ้งและอำเภออื่นๆ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำแม่กลอง เป็นลำน้ำสายหลักที่สร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่และเป็นต้นน้ำและแหล่งน้ำ ทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถทำการเกษตรเลี้ยงชีพได้
สรุปความหมายรวม พื้นที่ตำบลตะนาวศรีนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย มีลำภาชีเป็นแม่น้ำสายหลัก และเป็นต้นน้ำลำธารของตำบลตะนาวศรี ที่สร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และหาของป่าเลี้ยงชีพ
วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี “ คุณภาพชีวิตที่ดี รักษ์ประเพณีวัฒนธรรม งามล้ำธรรมชาติ พัฒนาการค้าชายแดน แน่นแฟ้นประชาคม ”
|
|
สภาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ ที่ตั้งของตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑ ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ประมาณ ๒๐๒.๑๕๓ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๒๖,๓๔๓.๗๕ ไร่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง เป็นระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร และห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดราชบุรี ประมาณ ๖๕ กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๑๖๗ กิโลเมตร สำหรับอาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลสวนผึ้ง - อำเภอสวนผึ้ง ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลท่าเคย ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทือกเขาตะนาวศรีและสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มสลับกับภูเขามีแม่น้ำภาชีไหลผ่าน ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่เนื่องจากมีเทือกเขาตะนาวศรี กั้นอยู่จึงทำให้ได้รับลมมรสุมจากอินเดียและทะเลอันดามันไม่เต็มที่ ส่วนใหญ่เป็นช่วงปลายฤดูฝน ที่มาพร้อมกับร่องความกดอากาศต่ำทำให้มีฝนตกชุกในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝน ปี ๒๕๕๖ เฉลี่ยประมาณ ๕๐ มิลลิเมตร ฤดูร้อนมีอากาศร้อนชื้นและมักจะมีพายุฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน อุณหภูมิสูงที่สุดประมาณ ๓๘.๙ องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน ฤดูหนาวโดยทั่วไป อากาศเย็นถึงหนาวอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ ๑๑.๔ องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนธันวาคม ประกอบด้วย ๓ ฤดู คือ ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนเมษายน ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กลางเดือนพฤศจิกายน ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนธันวาคม – กลางเดือนมกราคม ลักษณะของดิน ลักษณะเป็นดินรวนปนทราย และลูกรัง ลักษณะของแหล่งน้ำ - แม่น้ำ ได้แก่ แม่น้ำลำภาชี - ลำห้วย ได้แก่ ลำห้วยท่าเคย, ลำห้วยบ่อคลึง, ลำห้วยคอกหมู, ลำห้วยอะนะ, และลำห้วยยาง - ห้วย ได้แก่ ห้วย รบ ๒, ห้วยบ่อหวี, ห้วยดีบุก, ห้วยบ้านห้วยผาก, ห้วยกะวาน, ห้วยวังโค, ห้วยโกท่า, ห้วยพุระกำ และห้วยบ่อเก่า - บึง,หนอง ได้แก่ หนองน้ำโรงเรียนรุจิรพัฒน์ ลักษณะของไม้และป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ หรือป่าโปร่ง พบมากในบริเวณเนินเขาและยอดเขา มีลักษณะเด่น คือ ไม้พื้นล่างประกอบด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ เช่น ไผ่ซางนวล ไผ่ป่า ไผ่รวก ฯลฯ ในบริเวณที่เป็นดินลูกรัง มาก ๆ พบว่ามีไม้ไผ่เป็นไม้เด่นมากกว่าไม้ยืนต้นอื่น ๆ ไม้ยืนต้นที่พบได้แก่ สมอตีนเป็ด ตะแบก แคทราย เสลา ประดู่ มะค่าโมง ฯลฯ และป่าดิบแล้งพบบริเวณพื้นที่ตีนเขาและร่องเขา มีหวายเป็น ไม้พื้นล่างที่สำคัญ พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ คอแลน เพกา สำโรง โพธิ์หิน ข่อย ขี้หนอน มะกา กะดังงาป่า ฯลฯ ไม้เถาที่พบ ได้แก่ รางจืด แสลงพัน บันไดลิง เป็นต้น
|
การเมือง การปกครอง เขตการปกครอง ตำบลตะนาวศรี ประกอบด้วยจำนวนหมู่บ้าน ๗ หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี ทั้งหมด ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านสวนผึ้ง เนื้อที่ประมาณ 23.08 ตารางกิโลเมตร หรือ 14,425 ไร่ หมู่ที่ 2 บ้านท่ามะขาม เนื้อที่ประมาณ 15.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 9,475 ไร่ หมู่ที่ 3 บ้านห้วยม่วง เนื้อที่ประมาณ 42.06 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,287.5ไร่ หมู่ที่ 4 บ้านบ่อหวี เนื้อที่ประมาณ 62.90 ตารางกิโลเมตร หรือ 39,312.5 ไร่ หมู่ที่ 5 บ้านห้วยแห้ง เนื้อที่ประมาณ 7.61 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,756.25 ไร่ หมู่ที่ 6 บ้านห้วยน้ำหนัก เนื้อที่ประมาณ 35.05 ตารางกิโลเมตร หรือ 21,906.25 ไร่ หมู่ที่ 7 บ้านบ่อเก่าบน เนื้อที่ประมาณ 16.29 ตารางกิโลเมตร หรือ 10,181.25 ไร่ การเลือกตั้ง มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาใช้สิทธิ คิดเป็นร้อยละ 75.33 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด การเมืองการบริหาร การเมือง คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน ความขัดแย้งทางการเมืองระดับท้องถิ่นไม่รุนแรง การบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี เป็น อบต.ขนาดกลาง มีรายได้ที่จัดเก็บได้เอง ค่อนข้างน้อย งบประมาณส่วนใหญ่ได้รับการจัดสรรมาจากส่วนกลาง งบประมาณโดยรวมไม่เพียงพอ ต่อการพัฒนาท้องถิ่นให้ครอบคลุมในทุกด้าน บุคลากรมีไม่เพียงพอกับภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอน ขาดเครื่องมือที่ทันสมัยสำหรับการบริการประชาชน และต้องมีการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับ งานในหน้าที่และงานบริการให้แก่บุคลากร ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภา อบต. พอสมควร ประชาชนยังขาดความสนใจในด้านการมีส่วนร่วมด้านการเมืองการปกครองและการบริหารหรือ พัฒนาท้องถิ่น และยังขาดความเข้าใจระบบบริหารงานของ อบต. ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในการบริหารงาน หรือการติดต่อ ประสานงาน อยู่บ่อยครั้ง
|
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม การเกษตร ตำบลตะนาวศรี มีการเกษตร ได้แก่ การปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง การทำนา การทำสวนผลไม้ และปลูกผัก การประมง ตำบลตะนาวศรี มีการประมง ได้แก่ อาชีพเลี้ยงปลา การปศุสัตว์ ตำบลตะนาวศรี มีการปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงโค การเลี้ยงสุกร การเลี้ยงเป็ด ไก่ การเลี้ยงแพะ การบริการ หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล - ปั๊มน้ำมันและก๊าซ ๑ แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ - สถานที่พักแรม ๑๐ แห่ง ได้แก่ » บ้านรุ้งเคียงดาว ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ » เดอะแคนวาส ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ » ลำภาชี เลคฮิลล์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ » ภูธารา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๓ » สายธาร&ขุนเขารีสอร์ท ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๓ » ตะนาวศรีคอฟฟี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ » บ่อหวีรีสอร์ท ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ » บ้านไร่ไทรงามโฮมสเตย์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ » ลา โปรวองซ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ » บางเวลา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๕ การท่องเที่ยว ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ดังนี้ - ตลาดริมธาร โอ๊ะป่อย ที่ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๒ - ตลาดไกลเปล เฌอซิ๊ญ่า ที่ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๒ - ส่วนป่าสิริกิติ์ (แก่งส้มแมว) ที่ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ - น้ำตกบ่อหวี ที่ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๔ - จุดชมวิวห้วยคอกหมู ที่ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๔ - ฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ที่ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๔ - โรงเรียนควาย ที่ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๖ - แหล่งผลิตอาหารชุมชน(Food Bank) ที่ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๖ อุตสาหกรรม ตำบลตะนาวศรี มีอุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้แก่ การจัดสานเข่ง การแปรรูปหน่อไม้ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ ตำบลตะนาวศรี มีการพาณิชย์ เช่น ขายของชำ มีกลุ่มอาชีพ จำนวน ๙ กลุ่ม ได้แก่ » กลุ่มเลี้ยงแพะ ม.๑ จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวนสมาชิก ๑๐ คน » กลุ่มเลี้ยงโคเพื่อขยายพันธ์ ม.๒ จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวนสมาชิก ๑๐ คน » กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ประชารัฐ ม.๒ จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวนสมาชิก ๑๐ คน » กลุ่มเลี้ยงเป็ดเทศ ม.๓ จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวนสมาชิก ๒๐ คน » กลุ่มแปรรูปหน่อไม้ ม.๓ จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวนสมาชิก ๒๒ คน » กลุ่มสวนพืชผักผลไม้ ม.๕ จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวนสมาชิก ๑๐ คน » กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ม.๖ จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวนสมาชิก ๑๐ คน » กลุ่มเลี้ยงวัวบ้านบ่อเก่าบน ม.๗ จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวนสมาชิก ๑๐ คน » กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์ จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวนสมาชิก ๓๒ คน มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน ๔ กลุ่ม ได้แก่ » กลุ่มจักรสาน ม.๑ » กลุ่มหัวโขน ม.๑ » กลุ่มทอผ้า ม.๕ » กลุ่มคังด้ง ม.๕ มีกองทุนในตำบล จำนวน ๔ กองทุน ดังนี้ » กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน ๗ กองทุน » กองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน ๗ กองทุน » โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน จำนวน 4 กองทุน » กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 3 กองทุน แรงงาน ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๘๐ ประกอบอาชีพรับจ้าง ได้แก่ รับจ้างทำงานในโรงงาน อุตสาหกรรม นอกพื้นที่ และรับจ้างทั่วไป และประกอบอาชีพเกษตรกรรม แยกเป็น - ทำนา (นอกเขตชลประทาน) จำนวน 5 ครัวเรือน จำนวน ๑๐.๗๕ ไร่ - ทำสวน จำนวน ๙๗๐ ครัวเรือน จำนวน ๕,๖๖๒ ไร่ - เพาะเห็ด จำนวน ๖ ครัวเรือน จำนวน ๖ โรง - ปศุสัตว์ จำนวน ๒๗๔ ครัวเรือน - ปีระมง จำนวน ๒๒ ครัวเรือน และประกอบอาชีพค้าขาย ได้แก่ ค่าขายผัก ขายของชำและธุรกิจส่วนตัว กลุ่ม องค์กร และมวลชนจัดตั้ง ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน ๓ รุ่น รวมทั้งสิ้น จำนวนสมาชิก ๕๐๐ คน มีหมู่บ้านป้องกันตนเองตามชายแดน (ปชด.) จำนวน ๒ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๓, ๔ มีหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) จำนวน ๗ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ – ๗ กลุ่มป่าชุมชน จำนวน ๑ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ ชมรมผู้สูงอายุ จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวนสมาชิก ๕๐๐ คน |
สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การศึกษา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี มีโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ ดังนี้
(ที่มา ส่วนการศึกษาฯ วันที่ ๑๐ มิ.ย. ๖๔) ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การนับถือศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีข้อมูลศาสนสถาน ดังนี้ วัด จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ (๑) วัดสวนผึ้ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ (๒) วัดป่าท่ามะขาม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ (๓) วัดห้วยม่วง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๓ (๔) วัดบ่อหวี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ สำนักสงฆ์ จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ (๑) สำนักสงฆ์ตะนาวศรีคีรีธรรม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ (๒) สำนักสงฆ์ห้วยน้ำหนัก ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๖ (๓) สำนักสงฆ์บ่อเก่าบน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๗ โบสถ์คริสต์ จำนวน ๒ แห่ง (๑) โบสถ์คริสตจักรนาวา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๕ (๒) โบสถ์คริสตจักรบ้านห้วยน้ำหนัก ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๖ สถานประกาศคริสต์เตียน จำนวน ๖ แห่ง (๑) สถานประกาศคริสต์เตียนเขาลูกช้าง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ (๒) สถานประกาศคริสต์เตียนท่ามะขาม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ (๓) สถานประกาศคริสต์เตียนท่ากุลา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ (๔) สถานประกาศคริสต์เตียนโป่งแห้ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๓ (๕) สถานประกาศคริสต์เตียนห้วยกะวาล ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๖ (๖) สถานประกาศคริสต์เตียนพุระกำ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๖ ประเพณีและงานประจำปี ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง มีวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น - ประเพณีกินข้าวห่อ เรียกขวัญเดือน ๙ (ประมาณช่วงเดือน สิงหาคม ของทุกปี) - ประเพณีแห่ฉัตรในวันออกพรรษา - ประเพณีชาวไทยตะนาวศรี ช่วงเดือน สิงหาคม – ธันวาคม ของทุกปี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น - การตีเม็ดเงินกะเหรี่ยง - การทอชุดแต่งกายของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง - ภาษากะเหรี่ยง สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก - เม็ดเงินกะเหรี่ยง - ชุดกะเหรี่ยง - ผลิตภัณฑ์โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านบ่อหวี - มีสินค้า OTOP ๒ ราย ได้แก่ » กลุ่มปั้นกระดาษสานิรันพร ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ » กลุ่มไผ่ไล่กวาง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๕ |
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ การบริการพื้นที่ การคมนาคมขนส่ง องค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี มีถนนสายหลัก ๔ สาย เป็นถนนลาดยางสามารถเชื่อมติดต่อ ระหว่างตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง และตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา การคมนาคมที่สะดวก คล่องตัว รวดเร็ว มีถนนสายรองภายในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง มีปริมาณการสัญจรไปมา ค่อนข้างมาก ส่งผลให้เกิดฝุ่นละออง ในช่วงฤดูแล้ง และเป็นหลุมเป็นบ่อเกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ในช่วงฤดูฝน การคมนาคมติดต่อระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี อำเภอ และจังหวัด มีรายละเอียดดังนี้ - ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔(ถนนเพชรเกษม) จากอำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี เลี้ยวเข้าถนนเจดีย์ หักระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๒๙๑ (ถนนเจดีย์หัก-เขางู) ระยะทางประมาณ ๘ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๐๘๗ (ถนนราชบุรี-เขางู– สวนผึ้ง) ระยะทางประมาณ ๕๒ กิโลเมตร ถึงแยกหน้าอำเภอสวนผึ้ง เลี้ยวซ้ายเขาทางหลวงชนบท ราชบุรีหมายเลข ๖๐๐๗ (ถนนสวนผึ้ง-ห้วยม่วง) ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร ถึงที่ว่าการ องค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี เป็นทางลาดยางยาวตลอดสาย - ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) จากอำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี เลี้ยวเข้า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐๘ (ถนนเขาวัง-น้ำพุ-ชัฏป่าหวาย) ระยะทางประมาณ ๔๙ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๘๗ (ถนนช่วงบ้านชัฏป่าหวาย – สวนผึ้ง) ระยะทาง ประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ถึงแยกหน้าอำเภอสวนผึ้ง เลี้ยวซ้ายเขาทางหลวงชนบท ราชบุรี หมายเลข ๖๐๐๗ (ถนนสวนผึ้ง-ห้วยม่วง) ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร ถึงที่ว่าการองค์การบริหารส่วนตำบล ตะนาวศรี เป็นทางลาดยางยาวตลอดสายระยะทางจากที่ว่าการอำเภอถึงหมู่บ้าน ทั้ง ๗ หมู่บ้าน - หมู่ที่ ๑ บ้านสวนผึ้ง ประมาณ ๓ กม. - หมู่ที่ ๒ บ้านท่ามะขาม ประมาณ ๖ กม. - หมู่ที่ ๓ บ้านห้วยม่วง ประมาณ ๒๘ กม. - หมู่ที่ ๔ บ้านบ่อหวี ประมาณ ๑๕ กม. - หมู่ที่ ๕ บ้านห้วยแห้ง ประมาณ ๔ กม. - หมู่ที่ ๖ บ้านห้วยน้ำหนัก ประมาณ ๓๐ กม. - หมู่ที่ ๗ บ้านบ่อเก่าบน ประมาณ ๙ กม. ถนน - ถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง จำนวน ๑ สาย สภาพถนน ลาดยาง จำนวน ๑ สาย ระยะทาง ๔.๗๐ กม. - ถนนในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี จำนวน ๒ สาย สภาพถนน ลาดยาง จำนวน ๒ สาย ระยะทาง ๒๘.๑๐ กม. - ถนนในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี จำนวน ๑๓๗ สาย สภาพถนน คอนกรีต จำนวน ๖ สาย ระยะทาง ๒.๘๑ กม. ลาดยาง จำนวน ๕๔ สาย ระยะทาง ๓๗.๑๓ กม. ลูกรัง จำนวน ๘๘ สาย ระยะทาง ๖๗.๔๓ กม. สะพาน - สะพาน ค.ส.ล. ในความรับผิดชอบของ อบจ.ราชบุรี จำนวน ๕ แห่ง - สะพาน ค.ส.ล. ในความรับผิดชอบของ อบต.ตะนาวศรี จำนวน ๖ แห่ง การไฟฟ้า - ไฟฟ้าเข้าถึง ๗ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑ – ๗ จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ ประมาณ ๓,๐๔๗ ครัวเรือน - ผู้ใช้เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน ๓๕๓ เครื่อง การประปา - ระบบประปาหมู่บ้าน ได้แก่ » บ้านสวนผึ้ง หมู่ที่ ๑ จำนวน ๒ แห่ง » บ้านท่ามะขาม หมู่ที่ ๒ จำนวน ๒ แห่ง » บ้านห้วยม่วง หมู่ที่ ๓ จำนวน ๓ แห่ง » บ้านบ่อหวี หมู่ที่ ๔ จำนวน ๒ แห่ง » บ้านห้วยแห้ง หมู่ที่ ๕ จำนวน ๑ แห่ง » บ้านห้วยน้ำหนัก หมู่ที่ ๖ จำนวน ๓ แห่ง » บ้านบ่อเก่าบน หมู่ที่ ๗ จำนวน ๑ แห่ง โทรศัพท์ - โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑๒ แห่ง - การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเอกชน มีสัญญาณครอบคลุม ๘๐% ของพื้นที่ทั้งหมดในตำบล ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ทำการไปรษณีย์ที่อยู่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์อำเภอสวนผึ้ง ตั้งอยู่ ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ห่างจากตำบลตะนาวศรี ประมาณ ๕ กิโลเมตร การสาธารณสุข ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน ๒ แห่ง ดังนี้ (๑) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลตะนาวศรี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๓ (๒) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบ่อหวี ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ - ศูนย์ศึกษาวิจัยโรคเขตเมืองร้อน จำนวน ๑ แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๖ - อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ในตำบล จำนวน ๗๑ คน - ผู้ปฏิบัติงานหน่วยกู้ชีพ อบต. ๔ คน - มีอัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ๑๐๐ % - มีจำนวนผู้ที่ป่วยไข้เลือดออก ในรอบปี ๒๕๖๔ (ม.ค. - ก.ค. ๖๔) จำนวน ๑๒ ราย - ในรอบปี ๒๕๖๓ ไม่พบผู้ที่ป่วยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-๑๙) - ในรอบปี ๒๕๖๔ (ม.ค. - ก.ย. ๖๔) พบผู้ที่ป่วยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-๑๙) จำนวน ๑๙๑ ราย เสียชีวิต ๓ ราย อาชญากรรม ไม่มี ยาเสพติด ตำบลตะนาวศรี เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง การสังคมสงเคราะห์ สถิติของบุคคลที่ต้องได้รับการช่วยเหลือและให้การสงเคราะห์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตะนาวศรี มีรายการ ดังต่อไปนี้ ๑. ผู้สูงอายุ มีจำนวน ๗๓๗ คน ๒. ผู้พิการ มีจำนวน ๑๕๙ คน ๓. ผู้ติดเชื้อเอดส์ มีจำนวน ๑ คน สำรอง จำนวน ๓ คน ๔. ผู้ด้อยโอกาส จำนวน ๔๐ คน (ที่มา : กองสวัสดิการสังคม (งานสวัสดิการและพัฒนาสังคม) วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔) อื่นๆ - ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นตำบลตะนาวศรี (อบต.ตะนาวศรี) จำนวน ๑ แห่ง - อินเตอร์เน็ตตำบล (อบต.ตะนาวศรี) จำนวน ๑ แห่ง - ศาลาอ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ – ๗ จำนวน ๗ แห่ง - กลุ่ม องค์กร และมวลชนจัดตั้ง ดังนี้ ๑) ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน ๓ รุ่น รวมทั้งสิ้นจำนวนสมาชิก ๕๐๐ คน ๒) หมู่บ้านป้องกันตนเองตามชายแดน (ปชด.) จำนวน ๒ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๓, ๔ ๓) หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) จำนวน ๗ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ - ๗ ๔) กลุ่มป่าชุมชน จำนวน ๑ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ ๕) ชมรมผู้สูงอายุ จำนวน ๑ กลุ่ม จำนวนสมาชิก ๕๐๐ คน - อินเตอร์เน็ตตำบล (อบต.ตะนาวศรี) จำนวน ๑ แห่ง - ศาลาอ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ – ๗ จำนวน ๗ แห่ง
การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔ แห่ง ดังนี้ - หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ จำนวน ๑ แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ - หน่วยกู้ชีพกู้ภัย จำนวน ๑ แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ - สถานีควบคุมไฟป่า จำนวน ๑ แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๓ - ป้อม/จุดตรวจ(ตำรวจ) จำนวน ๑ แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๓ ทรัพยากรธรรมชาติ น้ำ มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ดังนี้ - แม่น้ำ ได้แก่ แม่น้ำลำภาชี - ลำห้วย ได้แก่ ลำห้วยท่าเคย, ลำห้วยบ่อคลึง, ลำห้วยคอกหมู, ลำห้วยอะนะ, และลำห้วยยาง - ห้วย ได้แก่ ห้วย รบ ๒, ห้วยบ่อหวี, ห้วยดีบุก, ห้วยบ้านห้วยผาก, ห้วยกะวาน, ห้วยวังโค, ห้วยโกท่า, ห้วยพุระกำ และห้วยบ่อเก่า - บึง,หนอง ได้แก่ หนองน้ำโรงเรียนรุจิรพัฒน์ ป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ หรือป่าโปร่ง พบมากในบริเวณเนินเขาและยอดเขา มีลักษณะเด่น คือ ไม้พื้นล่างประกอบด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ เช่น ไผ่ซางนวล ไผ่ป่า ไผ่รวก ฯลฯ ในบริเวณที่เป็นดินลูกรัง มาก ๆ พบว่ามีไม้ไผ่เป็นไม้เด่นมากกว่าไม้ยืนต้นอื่น ๆ ไม้ยืนต้นที่พบได้แก่ สมอตีนเป็ด ตะแบก แคทราย เสลา ประดู่ มะค่าโมง ฯลฯ ภูเขา ตำบลตะนาวศรี มีภูเขา คือ เทือกเขาตะนาวศรี ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ ๖๕ จะเป็นทรัพยากรป่าไม้ มีความอุดมสมบูรณ์ มีหินและแร่บางชนิด เช่น แร่เฟลสปาร์ และควอรตซ์ เป็นต้น |
ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
