นโยบายและแผน
นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตะนาวศรี๑. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน(๑) พัฒนาเส้นทางคมนาคม ด้วยการก่อสร้าง ปรับปรุง และซ่อมแซม ถนน สะพาน ผิวจราจร ไหล่ทาง ทางระบายน้ำ เพื่อความปลอดภัยในการสัญจร การประกอบอาชีพและการท่องเที่ยว (๒) พัฒนาระบบประปาหมู่บ้าน ประปาอนามัยให้ใช้งานได้ดีมีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการบริหารจัดการ ที่ดีและทั่วถึง (๓) พัฒนาระบบกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรอย่างพอเพียง โดยการก่อสร้างฝายสระน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ ตามความต้องการและความเหมาะสมของพื้นที่ ปรับปรุงซ่อมแซมของเดิมให้ใช้งานได้ดีและมีประสิทธิภาพ (๔) พัฒนาระบบไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (๕) สนับสนุนการขยายเขตไฟฟ้า ให้เข้าถึงทุกชุมชน (๖) ส่งเสริมให้มีระบบสื่อสาร โทรศัพท์สาธารณะ ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ห่างไกล (๗) การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพิสูจน์เอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน และมีการจัดการงานวางผังเมือง การใช้ที่ดินอย่างมีระบบ ๒. ด้านพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน(๑) ส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่ม ให้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆเพื่อให้ประชาชนมีรายได้เสริม เช่น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ การปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นต้น (๓) สนับสนุนกองทุนกู้ยืมเงินกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน (๔) ส่งเสริมศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรประจำตำบล ในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย พัฒนา ด้านการเกษตรให้ก้าวหน้า เพิ่มคุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนการผลิตได้ (๕) ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จัดให้มีการบริหารจัดการอย่างมีระบบ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้แพร่หลาย (๖) ส่งเสริมการทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้งานได้จริง ๓. ด้านพัฒนาสังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม(๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมต้านยาเสพติด (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัว เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัว (๓) สนับสนุนด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ด้อยโอกาส และเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ให้ได้รับเบี้ยยังชีพอย่างทั่วถึง (๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน ออมวันละ ๑ บาท (๕) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ ให้มีเอกภาพ (๖) ส่งเสริมและสนับสนุนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนวัยเรียน (อนุบาล ๓ ขวบ) ให้ได้มาตรฐานและจัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกหมู่บ้าน (๗) สนับสนุนให้เด็กได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานครบ ๑๐๐ % โดยจัดทุนสงเคราะห์และอุปกรณ์การเรียนการสอนแก่เด็กยากจน (๘) สนับสนุนการขอขยายโอกาสทางการศึกษาของโรงเรียนที่มีความพร้อมทุกแห่ง (๙) ส่งเสริมการปลูกฝัง คุณธรรมและจริยธรรม ในสถานศึกษา ให้เด็กได้ฝึกฝนการทำความดีและฝึกการมีจิตอาสาเพื่อสังคม (๑๐) ส่งเสริมเพิ่มเติมความรู้ให้ประชาชน เช่น การจัดสถานที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน มีหอกระจายข่าว มีการจัดเสียงตามสาย พัฒนาศูนย์ Internet ประจำตำบล และอบรมให้ความรู้การใช้ Internet แก่ผู้สนใจทั่วไป (๑๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาและรัฐพิธีต่างๆ (๑๒) ส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์ ให้คงอยู่และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ก่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ๔. ด้านสาธารณสุขและการกีฬา(๑) ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านสาธารณสุขมูลฐานให้ทั่วถึง ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าโดยเน้นไปที่งานป้องกันและเฝ้าระวังโรคต่างๆรวมถึงการให้วัคซีนป้องกันโรค และการควบคุมงานด้านปศุสัตว์ โดยร่วมกับ รพ.สต. และบริหารจัดการกองทุนฯ (๒) ส่งเสริมงานด้านอนามัยแม่และเด็กให้ครอบคลุม และให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ เช่น จัดตั้งกองทุนนมแม่ เป็นต้น (๓) สนับสนุนงานบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ให้ประชาชนได้รับการรักษาที่รวดเร็วและปลอดภัย (๔) พัฒนาและส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ โดยการจัดสถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (๕) สนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาทุกระดับ ทั้งในหมู่บ้าน ชุมชน โรงเรียน และการแข่งขันทั่วไป เพื่อประชาชนมีสุขภาพดี ห่างไกลยาเสพติดและเสริมสร้างสามัคคีในชุมชน ๕. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเริ่มต้นจากการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องไปยังทรัพยากรด้านอื่นๆ (๒) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ให้มีความตระหนักรักและหวงแหนทรัพยากรอย่างแท้จริง มีความรู้ความเข้าใจผลที่ได้รับหากมีการทำลายทรัพยากร (๓) ส่งเสริมงานด้านการบำบัดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐและภาคประชาชน องค์กรเอกชนต่างๆที่สนใจ เช่น งานปลูกป่า การประกวดหมู่บ้านฟื้นฟู เป็นต้น (๔) ส่งเสริมและพัฒนางานการบริหารจัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมตามความจำเป็น (๕) พัฒนางานด้านควบคุมมลพิษต่างๆที่เป็นภัยแก่ประชาชน เช่น การใช้สารเคมีในภาคการเกษตร (๖) พัฒนางานด้านการบำรุงรักษา แม่น้ำลำธาร แหล่งน้ำต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการกัดเซาะตลิ่ง น้ำแล้งและน้ำป่าไหลหลาก (๗) พัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยการจัดให้มีการบริหารจัดการขยะอย่างเหมาะสม และการกำจัดสิ่งปฏิกูลตลอดจนระบบการบำบัดน้ำเสียจากอาคารรวม ๖. ด้านการเมืองการบริหาร(๑) ปรับปรุงการให้บริการปะชาชนทุกๆด้าน ด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว เป็นที่พึงพอใจ (๒) ส่งเสริมการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร เพื่อสู่เป้าหมายการบริหารจัดการที่ดี (๓) บริหารการจัดการอัตรากำลังพนักงาน ให้เหมาะสมและเพียงพอกับงานและหน้าที่ขององค์กรรวมถึงส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง (๔) ส่งเสริมด้านสวัสดิการให้พนักงานและลูกจ้างอย่างเหมาะสม (๕) ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใส และป้องกันการทุจริตในการบริหารงาน โดยมีการตรวจสอบของภาคประชาชน (๖) ส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (๗) ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ให้เกิดการพัฒนาและวางแผนงานให้สอดคล้องกัน (๘) พัฒนางานการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และผู้ปฏิบัติงานตลอดเวลา สามารถให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง มีการซักซ้อมและให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติต่างๆให้มีความพร้อมรับมือตลอดเวลา (๙) ให้บริการข้อมูลข่าวสารทางราชการ เพื่อบริการประชาชนที่ประสงค์ขอทราบข้อมูลข่าวสารที่สามารถเปิดเผยได้ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
|